Home Visualization About Us Service Trainning Home Job Contact

ความสำคัญของการรักษาความปลอดภัย

ปัจจุบันปัญหาอาชญากรรมต่างๆและอุบัติภัยนั้น นับวันจะมีเพิ่มมากขึ้นและมีหลายรูปแบบ ซึ่งปัญหาดังกล่าวนั้นสามารถเกิดขึ้นได้ทุกๆที่ ทุกๆเวลา ส่งผลกระทบโดยตรงต่อชีวิตและทรัพย์สินต่างๆ ของประชาชนทั่วไป แต่ปัญหานั้นเราสามารถป้องกันไม่ให้เกิดได้ โดยหลายวิธีเช่นติดตั้งสัญญาณกันขโมย หรือ ติดตั้งกล้องวงจรปิด ซึ่ง 2 สิ่งที่กล่าวมานั้นเป็นกันป้องปรามและการแก้ไขปัญหาได้ระดับหนึ่ง มีอยู่หนึ่งวิธีการที่คิดว่า สามารถแก้ไขปัญหาดังกล่าวได้ค่อนข้างดี โดยการมอบหมายหน้าที่ให้มีบุคคลใดบุคคลหนึ่งคอยดูแล ตรวจตรา อยู่ตลอดเวลา หรือในช่วงเวลาหนึ่งที่ท่านเจ้าของ ไม่สามารถดูแลได้ บุคคลในที่นี้ก็คือพนักงานรักษาความปลอดภัย เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย หรือ รปภ. หรือยาม นั่นเอง ซึ่งจะคอยดูแลชีวิตหรือทรัพย์สิน ที่ท่านมอบหมายให้ได้ อีกทั้งยังสามารถบริการงานด้านอื่นให้แก่ท่านด้าน เช่นการทำความสะอาด งานการดูแลสถานที่ งานดูแลต้นไม้ งานเอกสาร หรืองานอื่นๆ ความสำคัญของการรักษาความปลอดภัยจะแยกได้ 3 ด้าน ดังนี้
1.ด้านการดูแลและป้องกันชีวิตและทรัพย์สิน เป็นการป้องกันการสูญเสียหรือเหตุร้ายต่างๆ ที่จะเกิดขึ้น เช่นการตรวจป้องกันการเกิดอัคคีภัย การโจรกรรม การตรวจเช็คพนักงานเข้า-ออกพื้นที่ เป็นต้น
2.ด้านการอำนวนความสะดวก จะคอยอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ว่าจ้าง เช่น การตรวจสอบบุคคลภายนอกที่มาติดต่อหน่วยงานของท่าน ด้านการจราจร ด้านงานเอกสาร เป็นต้น
3.ด้านบริการและเสริมสร้าง งานในส่วนนี้เป็นงานที่คอยดูแลงานด้านความสะอาด ด้านความเป็นระเบียบ เช่นงานความสะอาดหน่วยงาน งานดูแลต้นไม้ หรืองานต่างๆ ที่ผู้ว่าจ้างกำหนด ซึ่งจะไม่กระทบกับหน้าที่หลักของพนักงานรปภ.

การคัดเลือกบริษัทรักษาความปลอดภัย

ในปัจจุบันได้เกิดบริษัทรักษาความปลอดภัยใหม่ขึ้นมามากมาย ซึ่งแต่ละบริษัทก็จะมีการคัดเลือก อบรม ควบคุมดูแลพนักงานรปภ. ต่างกัน ดังนั้นเพื่อเป็นการคัดกรองเบื้องต้น ท่านจึงควรที่จะตรวจสอบหรือสอบถาม บริษัทรักษาความปลอดภัยดังนี้
1.ประสบการณ์การทำงานด้านรักษาความปลอดภัย หากบริษัทฯ ที่มีประสบการณ์มานาน จะสามารถควบคุมดูแลการปฎิบัติหน้าที่ของรปภ. การตรวจสอบการทำงาน รวมถึงแก้ไขปัญหาในกรณีฉุกเฉินได้เป็นอย่างดี
2. ความน่าเชื่อถือของบริษัทรักษาความปลอดภัย บริษัทฯ ที่จะเข้ามาบริการด้านการรักษาความปลอดภัยนั้น ต้องมีความน่าเชื่อถือ ซึ่งสามารถตรวจสอบเบื้องต้นได้จาก เอกสารแนะนำบริษัท การนำเสนอการฝ่ายขาย รวมถึงการแต่งตัวของพนักงานรักษาความปลอดภัย และเมื่อได้คุยกับฝ่ายขายแล้ว ก็สามารถสอบถามถึงจำนวนพนักงานรปภ. , ขึ้นตอนการทำงาน , จำนวนลูกค้าที่มีอยู่ในปัจจุบัน
3. การบริการงานรักษาความปลอดภัย ก่อนที่พนักงานรักษาความปลอดภัยจะเข้ามาปฎิบัติหน้าที่ในหน่วยงาน ทางบริษัทต้นสังกัดต้องมีการอบรมพนักงาน รวมทั้งมีอุปกรณ์ในการรักษาความปลอดภัยต่างครบตามที่ตกลงไว้ และในระหว่างปฎิบัติหน้าที่จะต้องมีการตรวจสอบ ควบคุม ดูแลการทำงานของพนักงานอยู่เสมอ

หน้าที่ของพนักงานรักษาความปลอดภัย

"พนักงานรักษาความปลอดภัย" หรือ "เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย" หรือ "รปภ." หรือที่ท่านคุ้นเคยกับคำว่า "ยาม" ไม่ใช่ว่าจะดูแลขโมยอย่างเดียว ยังมีหน้าที่คอยให้บริการ โดยพอที่จะสรุปได้เป็นข้อๆ ได้ดังนี้
- ให้บริการรักษาความปลอดภัยในสถานที่ตลอด 24 ชั่วโมง หรือ ตามจำนวนเวลาที่ผู้ว่าจ้างกำหนด ในการปฎิบัติหน้าที่จะต้องมีการตรวจตราผู้ที่มาติดต่อ และประสานงานแจ้งไปยังผู้ว่าจ้าง ประกอบกับต้องมีการตรวจดูความเรียบร้อยของสถานที่ให้ปราศจากเหตุร้ายต่างๆ
- ดูแลและตรวจตราความเรียบร้อยในสถานที่ปฏิบัติงาน ในการตรวจตราแต่ละครั้ง ต้องสังเกตุสิ่งแวดล้อมต่างๆ ว่าผิดสังเกตุหรือไม่ ตั้งอยู่ผิดตำแหน่ง สุ่มเสียงต่อการสูญหายหรือสุ่มเสียงต่อการเกิดเหตุหรือไม่ หากพบต้องแจ้งผู้เกี่ยวข้องโดยทันที
- จัดทำระเบียนการผ่านเข้า-ออกของบุคคลและรถยนต์ ในการปฎิบัติหน้าที่ต้องเข้มงวดกับรถหรือบุคคลที่เข้ามายังสถานที่ที่เสมอ มีการแลกบัตร ลงรายการบันทึก แจ้งไปยังผู้ว่าจ้าง ทั้งนี้เพื่อป้องกันเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ต่างๆ และสามารถตรวจสอบย้อนหลังได้
- บอกทิศทาง ,รับหีบห่อต่างๆ , ขัดขวางพฤติกรรมที่ไม่ถูกต้อง เมื่อผู้ติดต่อทำการตามขั้นตอนสำหรับการติดต่อแล้ว ต้องบอกสถานที่ที่ต้องนั่งรอพบลูกค้า ในการรับหีบห่อ ต้องตรวจสอบ ชื่อที่อยู่ว่าถูกต้องหรือไม่ เมื่อรับแล้วต้องนำส่งผู้ว่าจ้างทันที กรณีที่พบเหตุการณ์ไม่ถูกต้องควรแจ้งเตือนผู้กระทำ หากยังฝ่าฝืนต้องแจ้งผู้บังคับบัญชาและผู้เกี่ยวข้องทันที
- บันทึกรายงานการตรวจตราประจำจุด เมื่อเกิดเหตุการไม่พึงประสงค์ การลงบันทึกจะเป็นสิ่งที่สามารถตรวจสอบย้อนหลังได้ ดังนั้น พนักงานรปภ. จะบันทึกเหตุการณ์ต่างๆ โดยละเอียด
- ดูแลและลาดตระเวนและตรวจตราทรัพย์สิน เพื่อป้องกันให้พ้นจากอัคคีภัย โจรกรรม การทำลาย และกิจกรรมอื่นที่ไม่ชอบด้วยกฎของผู้ว่าจ้างหรือกฎหมาย หากพบต้องรีบแจ้งไปยังหัวหน้างานหรือผู้ว่าจ้างทันที
- รายงานผู้ดูแลเมื่อพบเจอสิ่งผิดปกติหรือบุคคลต้องสงสัยโดยทันที การรายงานไปยังทันทีเป็นการตัดตอน ลดปัญหาต่างๆที่จะขยายตัวขึ้นได้เป็นอย่างดี
- ปฎิบัติหน้าที่อื่นๆ ตามที่มอบหมาย ซึ่งไม่ผิดต่อกฎระเบียบ หรือ ก่อให้เกิดการบ่งพร่องในการปฎิบัติหน้าที่ของ รปภ.

การควบคุมและการตรวจสอบพนักงานรักษาความปลอดภัย

ระยะที่ 1 การคัดเลือกตัวพนักงานรักษาความปลอดภัย
- การคัดกรองพนักงานรักษาความปลอดภัย เริ่มจากการรับสมัคร รปภ. บริษัทรักษาความปลอดภัย จะต้องมีการคัดกรองเบื้องต้น โดยสามารถดูจากรูปลักษณะภายนอกเป็นอันดับแรก ต่อมาก็จะมีการสัมภาษณ์ เพื่อประเมินวิสัยทัศน์ มุมมองต่องานด้านรักษาความปลอดภัย หากผ่านการสัมภาษณ์ ก็จะมีการอบรมพนักงานใหม่ ให้รู้ถึงระเบียบวินัย ขั้นตอนการปฎิบัติงานของรปภ. หลังจากก็จะมีการส่งประวัติไปตรวจสอบที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติ
ระยะที่ 2 การติดตามผลระหว่างปฎิบัติหน้าที่
- พนักงานสายตรวจ บริษัทรักษาความปลอดภัย จะส่งพนักงานสายตรวจสุ่มตรวจพนักงานรักษาความปลอดภัยถึงหน่วยงาน ไม่น้อยกว่า 2 ครั้ง ต่อสัปดาห์ โดยไม่มีการแจ้งล่วงหน้าและไม่มีการกำหนดวันเวลาที่แน่นอน
- ส่งข้อมูลข่าวสารด้วยภาพหรือคลิปวีดิโอ ขณะปฎิบัติงานบริษัทรักษาความปลอดภัย จะให้พนักงานรักษาความปลอดภัย ใช้แอปริเคชั่นไลน์ ถ่ายภาพ ตามจุดต่างๆ ของหน่วยงาน แล้วส่งภาพหรือคลิปวีดิโอนั้นๆ มาให้ผู้ว่าจ้างหรือหัวหน้างาน หรือ ผู้จัดการ ทุก 2 ชั่วโมง
- หัวหน้างาน ในหน่วยงานที่มีหัวหน้างาน หัวหน้างานจะตรวจตราและควบคุม พฤติกรรมของพนักงานรักษาความปลอดภัยขณะปฎิบัติหน้าที่ให้อยู่ในกฎระเบียบอยู่เสมอ
ระยะที่ 3 การให้ความรู้เพิ่มเติมและทบทวน
- การให้ความรู้ ในกรณีที่มีความรู้ ข้อมูลข่าวสารใหม่ ด้านการรักษาความปลอดภัย ทางบริษัทรักษาความปลอดภัย จะมีการให้ความรู้แก่พนักงานรักษาความปลอดภัย โดยการเรียกพนักงานรักษาความปลอดภัยเข้ามาอบรมที่สำนักงาน หรือให้ทางสายตรวจ รองผู้จัดการเขต ผู้จัดการเขตไปเยี่ยมเยียนหน่วยงาน พร้อมกับแจ้งข้อมูลข่าวสารให้พนักงาน
- การฝึกทบทวนประจำปี ในการปฎิบัติงานแต่ละหน่วยงาน รายละเอียดอาจจะแตกต่างกันไป แต่หลักพื้นฐานของพนักงานรักษาความปลอดภัยทุกนายจะต้องสามารถปฎิบัติงานได้เช่นระเบียบแถว การทําความเคารพ การต่อสู้ป้องกันตัวด้วยมือเปล่า การเขียนรายงาน การควบคุมยานพาหนะ การใช้สัญญาณมือ เป็นต้น จึงต้องมีการทบทวนอยู่เสมอๆ
- การตรวจสุขภาพประจำปี พนักงานรักษาความปลอดภัยทำงานค่อนข้างหนัก อาจมีภาวะเสี่ยงต่อการเกิดโรคที่ซ่อนอยู่ในตัว ซึ่งจะไม่แสดงอาการในระยะแรก เมื่อปล่อยไว้นานเข้าเมื่อร่างกายอ่อนแอ ก็จะกลายเป็นโรคที่กำเริบหนักและเกิดภาวะแทรกซ้อนร้ายแรงตามมาได้ ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อชีวิตและงาน ของพนักงานรักษาความปลอดภัยโดยตรง ดังนั้นบริษัทรักษาความปลอดภัยจะให้มีการตรวจสุขภาพพนักงานรักษาความปลอดภัยประจำปี

อุปกรณ์รักษาความปลอดภัย

ในการรักษาความปลอดภัย จำเป็นต้องมีอุปกรณ์ต่างๆประกอบด้วย เพื่อเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน บริษัทรักษาความปลอดภัย สยาม เซฟการ์ด จำกัด มีอุปกรณ์ในการรักษาความปลอดภัยที่ทันสมัย เช่น GUARD TOUR (นาฬิกายาม) , GUARD SCAN (เครื่องตรวจโลหะ) , กรวยจราจร , กระบองไฟฟ้า , วิทยุสื่อการ , แผงกั้นจราจร , เสื้อจราจรสะท้อนแสง , ไฟฉาย , เสื้อกันฝน , สมุดบันทึก , เครื่องเขียน , บัตร VISITOR , ถังดับเพลิงเคมีแห้ง , ระบบกล้องวงจรปิด , ระบบที่จอดรถอัตโนมัติ , อื่นๆ แยกได้ 2 ประเภทใหญ่ดังนี้
1.อุปกรณ์ประจำกาย เป็นอุปกรณ์พื้นฐานที่พนักงาน รปภ.ทุกนายจะต้องมีติดตัวไว้ สามารถนำออกมาใช้ได้ทันทีที่ต้องการ ไม่ว่าจะเป็นการใช้เพื่อ ส่งสัญญาน ตรวจสอบ และจดบันทึก เช่น นกหวีด ไฟฉาย กระบอก ปากกา สมุดพก แต่เนื่องด้วยปัจจุบันระบบเทคโนโลยีทันสมัยมากขึ้น โทรศัทพ์มือถือ ก็ถือได้ว่าเป็นอุปกรณ์ประจำกายได้เหมือนกัน อีกทั้งยังสามารถใช้ได้ทั้งในการ รายงานเหตุการณ์ บันทึกภาพและเสียงขณะเกิดเหตุการณ์เพื่อส่งไปยังหัวหน้างานหรือผู้ว่าจ้างได้ด้วย
2.อุปกรณ์ประจำหน่วย มีไว้เพื่ออำนวยความสะดวก เพื่อความเป็นระเบียบ และเสริมประสิทธิภาพในการทำงานของพนักงานรักษาความปลอดภัย อุปกรณ์ประเภทนี้มีตั้งแต่ชิ้นเล็กๆ จนถึงชิ้นใหญ่ เช่น บัตรผู้มาติดต่อ เสื้อกันฝน กรวยจราจร แผงกั้นจราจร ถังดับเพลิง แต่ในกรณีที่เป็นหน่วยงานค่อนข้างใหญ่ และผู้ว่าจ้างต้องการความเข็มงวดในการรักษาความปลอดภัยมากขึ้น ก็อาจจะมี ระบบกล้องวงจรปิด การ์ดทัวร์ การ์ดสแกน ไม้กระดก ที่จอดรถอัจฉริยะ เป็นต้น

ลำดับชั้นของพนักงานรักษาความปลอดภัย

หน่วยงานที่พนักงานรักษาความปลอดภัยปฎิบัติหน้าที่ จะมีขนาดพื้นที่และลักษณะงานไม่เหมือนกันมากนัก ซึ่งจะส่งผลต่อจำนวนรปภ. ที่ต้องเข้าปฎิบัติหน้าที่ในหน่วยงานนั้นๆ เช่นหากเป็นโรงงานอุตสาหกรรม ก็ต้องใช้จำนวนพนักงานรักษาความปลอดภัยที่มาก หากเป็นหมู่บ้าน , คอนโดมิเนียม , คลังสินค้า , บริษัท , บ้านพักอาศัย ก็จะใช้จำนวนพนักงานรปภ.น้อยลงไปตามลำดับ ในหน่วยงานที่มีพนักงานรปภ. จำนวนมาก จึงจำเป็นต้องมีการแบ่งลำดับชั้นเพื่อแบ่งหน้าที่การทำงาน และมีการสวมใส่ชุดยูนิฟอร์มหรือติดสัญญลักษณ์ตำแหน่ง เพื่อบ่งบอกถึงลำดับชั้นของพนักงานรปภ.คนนั้นๆ โดยทั่วไปจะแบ่งลำดับชั้นของพนักงานรักษาความปลอดภัยได้ดังนี้
1.พนักงานรักษาความปลอดภัย มีหน้าที่ ปฎิบัติงานตามหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย รับคำสั่งและนำคำสั่งที่ได้รับปฎิบัติตาม ชุดยูนิฟอร์ม ก็จะเป็นไปตามที่บริษัทต้นสังกัดกำหนดไว้
2.ผู้ช่วยหัวหน้าหน่วย มีหน้าที่ควบคุมดูแลพนักงานรักษาความปลอดภัย ปฎิบัติงานตามหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย และ สามารถปฎิบัติหน้าที่แทนได้ ในกรณีที่หัวหน้าชุดไม่อยู่ในพื้นที่ ชุดยูนิฟอร์มอาจจะเป็นชุดที่ต่างจากพนักงานรปภ.ทั่วไป หรือสวมปลอดแขนแสดงลำดับชั้น
3.หัวหน้าหน่วย มีหน้าที่ดูแลพนักงานรักษาความปลอดภัยทั้งหมดในหน่วยงานที่ปฎิบัติหน้าที่ รวมถึงรับคำสั่งจากผู้ว่าจ้างและบริษัทต้นสังกัด ชุดยูนิฟอร์มอาจจะเป็นชุดที่ต่างจากพนักงานรปภ.ทั่วไป หรือสวมปลอดแขนแสดงลำดับชั้น
หมายเหตุ : การแบ่งลำดับชั้นดังกล่าวข้างต้น เป็นการแบ่งลำดับชั้นโดยปกติทั่วไป แต่อาจจะมีบางบริษัทรักษาความปลอดภัยหรือบางหน่วยงาน มีการแบ่งที่เพิ่มเติมไปจากนี้ซึ่งก็ไม่ถือว่าผิดแต่ประการใด

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับไฟ

ไฟ เกิดขึ้นจากที่องค์ประกอบหลัก 3 อย่าง มาเจอกันในเวลาเดียวกัน ประกอบด้วย “ความร้อน” , “เชื้อเพลิง” , “อากาศ”
1.ความร้อน (HEAT) ต้องเหมาะสมและเพียงพอที่จะทำอุณหภูมิสูงจนทำให้สารเชื้อเพลิงจุดติดไฟ
2.เชื้อเพลิง (FUEL) เป็นสิ่งที่สามารถลุกไหม้ได้
3.อากาศ (OXYGEN) ต้องมีออกซิเจน ประมาณ 21 % ถึงจะสามารถทำให้ช่วยติดไฟได้

ประเภทของไฟ

1.ไฟประเภท A สัญลักษณ์เป็น รูปตัว A อยู่ในรูปสามเหลี่ยมด้านเท่า พื้นสีเขียว ตัวอักษรสีดำเป็นไฟที่เกิดจากเชื้อเพลิงที่เป็นของแข็งเชื้อเพลิงธรรมดา เช่น ไม้ ผ้า กระดาษ พลาสติก
2.ไฟประเภท B สัญญลักษณ์ ตัวอักษร B อยู่ในรูปสี่เหลี่ยมด้านเท่า พื้นสีแดง ตัวอักษรสีดำ เกิดจากเชื้อเพลิงที่เป็นของเหลวและก๊าซ เช่น น้ำมัน แอลกอฮอล์ สารละลาย และก๊าซติดไฟทุกชนิด
3.ไฟประเภท C สัญลักษณ์เป็น รูป C สีดำ อยู่ในวงกลมสีฟ้า เป็นไฟที่เกิดจากเชื้อเพลิงที่มีกระแสไฟฟ้าไหลอยู่
4.ไฟประเภท D สัญลักษณ์เป็น รูปตัว D สีดำ อยู่ในดาว 5 แฉก สีเหลือง ไฟจะเกิดจากเชื้อเพลิงที่มีลักษณะเป็นโลหะและสารเคมีติดไฟ เช่น ผงแมกนีเซียม, ปุ๋ยยูเรีย
5. ไฟประเภท K สัญลักษณะเป็น รูปตัว K สีขาว อยู่ในรูปแปดเหลี่ยมสีดำ ไฟที่เกิดจากน้ำมันทำอาหาร น้ำมันพืช, น้ำมันจากสัตว์ และไขมัน

ถังดับเพลิง

1. ถังดับเพลิงชนิดผงเคมีแห้ง จะบรรจุในถังสีแดง ภายในจะมีผงเคมีแห้งและก๊าซไนโตรเจน เมื่อฉีดออกมาจะเป็นฝุ่นละออง ดับเพลิงไหม้ได้ทุกชนิด ไม่อันตรายต่อมนุษย์หรือสิ่งมีชีวิตทุกประเภท เหมาะใช้ในที่โล่งแจ้ง บ้าน อาคารใหญ่ๆ โรงงานอุตสาหกรรม
2. ถังดับเพลิงชนิดก๊าซคาร์บอนได้ออกไซด์ เป็นถังสีแดง น้ำยาดับเพลิงเป็นน้ำแข็งแห้ง บรรจุในถังแรงดันสูง มีกระบอกหรือกรวย น้ำยาออกมาเป็นหมอกหิมะ ที่สามารถไล่ความร้อนและออกซิเจน ใช้กับไฟชนิด B และ C
3. ถังดับเพลิงชนิดน้้ายาเหลวระเหย บีซีเอฟ ฮาลอน1211บรรจุในถังสีเหลือง เป็นสารเคมี มีความเย็นจัด มีประสิทธิภาพสามารถทำลายออกซิเจนได้ ไม่มีคราบสิ่งสกปรกหลังการดับ สามารถที่จะใช้งานได้หลายครั้ง เหมาะกับในโรงงานอุตสาหกรรม อิเล็กทรอนิกส์ เรือ เครื่องบิน
4. ถังดับเพลิงชนิด HCFC-123 (Halatron) ใช้ทดแทนสารฮาลอน 1211 ไม่มีคราบสิ่งสกปรกหลังการดับ สามารถที่จะใช้งานได้หลายครั้ง เหมาะกับในโรงงานอุตสาหกรรม อิเล็กทรอนิกส์ เรือ เครื่องบิน
5. ถังดับเพลิงชนิด BF 2000 บรรจุอยู่ในถังสีเขียว เป็นน้ำยาที่เป็นสารละเหย ใช้ดับไฟประเภท A B C และ E สามรถใช้ดับเพลิงได้หลายครั้ง เหมาะใช้ในโรงงาน อุตสาหกรรม อิเล็กทรอนิกส์
6. ถังดับเพลิงชนิดน้้ายาโฟม บรรจุในถังสแตนเลส มีแรงดันสูง มีการยิงโฟมผ่านหัวบัวพ่นออกมาให้เป็นฟองกระจายๆ เมื่อฉีกพ่นออกมาจะทำให้เกิดอับอากาศ ไฟขาดออกซิเจนและไม่ไฟไม่สามารถติดได้ สามารถดับไฟชนิด A B


[ หน้าหลัก ] [ วิสัยทัศน์ ] [ เกี่ยวกับเรา ] [ บริการ ] [ ฝึกอบรมพนักงาน ] [ ข่าวสาร รปภ. ] [ สมัครงาน ] [ ติดต่อ ]
บริษัทรักษาความปลอดภัย